วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิธีเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง

วิธีเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง
การมีความรักเป็นสิ่งดี ไม่ว่าจะรักพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนรู้ใจ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ เมื่อมีความรักทำให้เราสดชื่น มีกำลังใจและมีความสุข อย่างไรก็ตามมีความรักอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือ รักตนเอง แต่ไม่ได้หมายถึงหลงตัวเอง เห็นแก่ตัว ถือว่าตนดีกว่าคนอื่นหรือเหย่อหยิ่งจนไม่น่าดู แต่เป็นความรักที่ทำให้เราคิดดีต่อตนเอง เพิ่มความมั่นใจให้แก่ตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีค่ามากขึ้น หลายๆ คนที่ไม่รักตนเองมักประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะทำร้ายตนเองด้วยการฆ่าตัวตาย หรือหันไปพึ่งยาเสพติด แล้วอะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไม่รักตนเอง?

โดยรวมแล้วขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เพราะตั้งแต่แรกคนเราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความรู้สึกมั่นใจตนเอง สภาพแวดล้อมและคนรอบตัวต่างหากที่เป็นตัวกำหนด เช่น การเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งหากเด็กเติบโตมาพร้อมกับพ่อแม่ที่เอาใจอย่างดี แสดงความรักอย่างเปิดเผย เด็กก็จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า มีความมั่นใจ ตรงกันข้ามหากเด็กโตมาพร้อมกับการตำหนิว่ากล่าว พ่อแม่ไม่ใส่ใจ โดนตีบ่อยๆ หรือแม้กระทั่งโดนเพื่อนล้อเลียน ก็จะรู้สึกว่าตนเองไม่สำคัญ ไม่มีความมั่นใจในตนเองและติดเป็นนิสัยเมื่อเป็นผู้ใหญ่

หากจะให้แยกว่าคนไหนมั่นใจตนเอง คนไหนไม่มั่นใจตนเอง สังเกตจากภายนอกคงไม่ได้เพราะบางคนเวลาทำงานดูเป็นคนมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว แต่ภายในก็อาจจะคิดกังวลเป็นทุกข์อยู่คนเดียว ซึ่งไม่มีใครรู้ความจริง โดยทั่วไปคนที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่รักตนเองจะมีลักษณะนิสัยดังต่อไปนี้
ปิดบังตัวตนไว้ภายใน เป็นประเภทแสดงออกว่าตนเองมีความมั่นใจในตนเอง ประสบความสำเร็จ แต่จริงๆ กลัวมากว่าสักวันตัวตนที่แท้จริงของตนจะมีคนรู้ คนประเภทนี้มักติดอยู่กับความคิดสมบูรณ์แบบ การแข่งขันแก่งแย่ง และกลัวการสูญเสียต่อต้านผู้อื่น เป็นประเภทไม่สนใจความคิดเห็นของคนอื่น มักขัดแย้งกับผู้บริหารหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่จริงๆ แล้วทำเพราะรู้สึกโกรธตนเองที่ทำอย่างไรก็รู้สึกไม่พอ ไม่มีความสุขคิดว่าเป็นผู้แพ้เสมอ เอาความทุกข์ หรือความลำบากของตนมาเป็นเกราะ หรือข้ออ้างสำหรับตนเอง คนประเภทนี้มักพึ่งพาแต่ผู้อื่นและมักจะทำสิ่งต่างๆ

มารยาทดีๆ ในที่ทำงาน

มารยาทดีๆ ในที่ทำงาน

1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัว คุณควรรอให้อนุญาตให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร

2. พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไร หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน

3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงาน คุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง

4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดี ขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้

5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ย หากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที

6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่น คุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์

7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทางควรทำอย่างไร ให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย

8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุม เพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม

9. การโต้ตอบอีเมล ควรตรวจเช็คและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระวัง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท

ที่มา http://www.fwdder.com/topic/66954

ประวัติ Web Blog

ประวัติ Web Blog

blog ก็คือการนำเสนอความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของ blog ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ครับ โดยการนำเสนอจะไปตามเวลา และคนทั่วไปสามารถร่วมลงความเห็นได้ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้การจะมี web เป็นของตัวเองนั้นค่อนข้างยากครับ เพราะว่า เรามักจะต้องมีความรู้ในการเขียน html, Java, และ Javascript และภาษาอื่น ๆ ในระดับที่มากพอควร จึงจะสามารถนำเสนอความคิดตนเองขึ้น web ได้ เมื่อเกิด blog ขึ้นทำให้ผู้คนทั่วไปที่มีความรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับไม่สูงนัก สามารถเข้ามามีพื้นที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น

ในปี 1996-1997 Jorn Barger (1953, Ohio) เป็นนักเขียนชาวอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของ web ชื่อ Robot Wisdom นั้นเป็นคนแรกที่ได้เครดิตว่าเป็นคนเริ่มใช้ คำว่า "weblog" เป็นคนแรก ๆ ครับ เดิมนั้น ความหมายเค้ามาจากการรวมคำว่า "logging the web" ตามตัวอักษรเลย ชื่อนี้เริ่มใช้ในปี 1997 และได้รับความนิยมไปทั่วครับ ต่อมา Peter Merholz ได้แปลงเป็น "we blog" แทน และใช้คำว่า "blog" แทนในปี 1999 ต่อมาก็ได้รับความนิยมจนกระทั่งกลายเป็นคำบัญญัติใหม่สำหรับ English Dictionary ทั่วไป โดย Oxford English Dictionaryได้บันทึกความหมายไว้ในปี 2003 นี่เองครับบางคนอาจจะรู้สึกว่า ไม่เห็น (มัน) จะต่างกับ diary online ตรงไหน จริง ๆ แล้ว ก็คล้าย ๆ กันครับ แต่ว่า blog นั้นจะมีเนื้อหาที่นำมาใช้ได้กว้างกว่า และไม่มีข้อกำหนดด้านเวลามากเท่า Diary

ปัจจุบัน คนนิยมใช้ blog มากครับ โดยทั่วไปก็เป็นไปเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ออกแนวไม่วิชาการมากนัก และสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างดี สามารถใส่อะไรลงไปก็ได้เลยล่ะครับ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานที่ไม่ยากนักไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากเท่าไหร่นัก blog แรก ๆ ที่ให้บริการ free blog ก็ได้แก่ blogger เป็นต้นครับ แต่ลักษณะของผู้ให้บริการ free weblog เหล่านี้ก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันนะครับ ขึ้นกับการกำหนดหน้าตาของฝ่ายออกแบบของผู้ให้บริการ

ที่มา http://hahi.blog.mthai.com/

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

มารยาทในห้องเรียน


มารยาทในห้องเรียนซึ่งมีวิธีปฏิบัติง่ายๆและหลายๆคนก็พอจะรู้จักและปฏิบัติได้ดังนี้

1. ต้องตั้งใจเรียน เป็นการแย่มากๆหากว่าเราจับกลุ่มคุยแข่งกับอาจารย์ที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือสนใจในการอ่านหนังสือการ์ตูนมากกว่าบทเรียนในชั่วโมงทุกคนลองคิดดูว่าอาจารย์ผู้สอนเพียงคนเดียวไม่สามารถตะเบ็งเสียงแข่งได้

2. ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ถึงแม้เราจะเบื่อในวิชานั้นๆก็ไม่ควรไปชวนเพื่อนคุยหรือรบกวนใดๆก็แล้วแต่ถ้าเราไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรให้ยกมือถามอย่าไปถามเพื่อนขณะเรียนเพราะเพื่อนอาจเรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรา
3. เชื่อฟังคำตักเตือนของอาจารย์ บางครั้งที่เราทำผิดหรือเราอาจจะดื้อรั้นกับอาจารย์ที่สอนอยู่ อาจารย์อาจจะต่อว่า ตักเตือนหรือตีก็ไม่ควรทำอวดดีหรือโต้เถียงใดๆทั้งสิ้น

4. แสดงน้ำใจต่อเพื่อนๆบ้าง บางครั้งเพื่อนของเรามาเรียนไม่ทันหรือขาดเรียนไปเราควรอธิบายวิชาที่เราพอจะสามารถอธิบายให้เพื่อนเราฟังได้ หรือเพื่อนขาดอุปกรณ์การเรียน ถ้าเรามีก็ควรจะแบ่งปัน เพราะในการเรียนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันเมื่อทำกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว

5. มีความรับผิดชอบ นอกจากการเรียนในวิชาต่างๆแล้วยังต้องมีแบบฝึกหัดให้เราทดลองและเราจะต้องมีความรับผิดชอบโดยการทำส่งให้ครบตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้มีนิสัยที่ไม่ดีติดตัว

เทคนิคการเรียนเก่ง

“อ่านแล้วเข้าใจ เข้าใจแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้”


เป็นปรัชญาที่เราใช้มาตั้งนานแล้ว บางคนก็อาจจะรู้อยู่แล้ว ก็เขาใช้วิธีนี้กันมาไม่รู้กี่ปีแล้ว การที่เราจะจำเนื้อหาของเรื่องที่เรียนไปได้แม่น มันต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหานั้นก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าจำ จำอย่างเดียว จำแบบไม่เข้าใจอะไรเลย การจำแบบนี้เป็นการจดจำระยะสั้น และไม่สามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบแบบวิเคราะห์ได้ เพราะในขั้นตอนการจำ ไม่มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นไป เลยทำให้ไม่รู้หลัก เหตุและผล ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ หากข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่จำไป ก็จบเห่น่ะสิ


การเขียนหรือการจดโน้ตเป็นวิธีที่จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนเขียนเราต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าจะเขียนอะไรลงไป อย่าลอกตามหนังสือไปทั้งดุ้น และอย่าจดแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป หรือจดแบบให้มีตามเพื่อน (เป็นกระแสนิยม) เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย ควรจะสรุปประมวลออกมาเป็นเนื้อความ ตามที่เราเข้าใจ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย อาจตรวจสอบโดยการผลัดกันตอบคำถามกับเพื่อน หรือถามครูอาจารย์ ดังนั้นอย่าขี้เกียจเขียนเลย เขียนเอง อ่านเอง ผลที่ได้ก็อยู่ที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ